Health

  • สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม
    สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม

    สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

    1. คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
    สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นประจำ โดยก้อนเนื้อที่พบอาจจะกดเจ็บ หรือไม่เจ็บก็ได้ ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังรอบเดือนหมด ประมาณ 1 สัปดาห์

    2. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
    แม้ปกติเต้านมทั้ง 2 ข้างอาจมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันบ้าง แต่การหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิม จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันหากเกิดโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

    3. ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนา เหมือนเปลือกส้ม
    รวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอาการของเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

    4. มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
    โดยเฉพาะหากพบว่าน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลนั้นมีสีคล้ายเลือด และออกจากหัวนมเพียงรูเดียว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเต้านมโดยละเอียด

    5. อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ
    หากมีอาการเจ็บเต้านมโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือพบว่าผิวหนังรอบๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อคลำพบก้อนเนื้อร่วมด้วย อย่าละเลยว่าเป็นเรื่องธรรมดาเด็ดขาด

    6. ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด
    ผื่นคันอาจเกิดขึ้นที่หัวนมหรือบริเวณเต้าส่วนใหญ่ เริ่มต้นเป็นเพียงผื่นแดงแสบๆ คันๆ แม้จะรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วยังไม่หายขาดจนกลายเป็นแผลตกสะเก็ดแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมอีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดจากเซลล์มะเร็งลามขึ้นมาที่ผิวหนังด้านบนบริเวณหัวนมหรือเต้านมแล้ว

    7. เลือดออกจากหัวนม

    ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โดยมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมากมาย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

    ทำความรู้จักกับเต้านม

    เต้านมนั้นมีส่วนประกอบอยู่หลายชนิด เช่น ไขมัน (fat cells) ต่อมน้ำนม (lobule) ที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม และท่อนํ้านม (duct) ทำหน้าที่รวบรวมน้ำนมทีผลิตจากต่อมน้ำนมมายังหัวนม เซลล์ต่างๆ เหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เกิดเป็นมะเร็งได้ทั้งนั้น แต่ที่พบบ่อยที่สุดที่เกิดความผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งเต้านม คือ เซลล์ท่อนํ้านม

    ดังนั้น มะเร็งเต้านมชนิดที่พบบ่อยที่สุด จึงมีชื่อเรียกว่า invasive ductal carcinoma และชนิดของมะเร็งที่พบน้อย คือ มะเร็งของต่อมนํ้านม ที่มีชื่อเรียกว่า invasive lobular carcinoma ซึ่งมะเร็งทั้งสองชนิดนี้มี วิธีการรักษาเหมือนกัน และอีกชนิดสุดท้ายซึ่งพบเป็นก้อนที่เต้านมเกิดจากมะเร็งจากที่อื่นแพร่กระจายมา เรียกว่า metastatic carcinoma ซึ่งอันนี้ การรักษาจะไม่เหมือนกับมะเร็งที่เกิดจากเต้านมและต้องรักษาตามชนิดของมะเร็งตัวแม่ที่ส่งเซลล์แพร่กระจายมา ซึ่งจะไม่กล่าวถึง

    มะเร็งเต้านมยังคงเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก มะเร็งเต้านมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆในประเทศไทยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ.2559 พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 1

    สาเหตุของมะเร็งเต้านม
    – ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งถ้ามีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมก็ยิ่งเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้หญิงที่มีแม่ น้องสาว พี่สาว หรือบุตรเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ควรต้องได้รับการตรวจเช็คมะเร็งเต้านม
    – อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีความผิดปกติของยีนในเซลล์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดมะเร็งได้
    – มีประจำเดือนอายุน้อย (น้อยกว่า 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (มากกว่าอายุ 50 ปี) ทำให้ร่างกายสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานกว่าผู้หญิงปกติ
    – เพศ ผู้ชายอาจเป็นมะเร็งเต้านมได้แต่น้อยกว่าผู้หญิงมาก ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า
    – เต้านมมีเนื้อเยื่อแน่น หมายถึง มีต่อมนํ้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และอีกนัยหนึ่งคือ ทำให้แพทย์พบความผิดปกติได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเต้านมหรือการใช้เครื่องมือช่วยวินิจฉัย
    – เชื้อชาติ มีความสำคัญ ผู้หญิงตะวันตกมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงชาวเอเชีย
    – ประวัติดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เหล้าเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ดื่มมากกว่า 2-5 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ดื่ม 1.5 เท่า
    – อ้วน ความอ้วนนอกจากจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวานเท่านั้น ยังทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
    – ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เนื่องจากช่วงให้นมบุตรจะทำให้มารดาไม่มีประจำเดือนมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและป้องกันมะเร็งเต้านมได้

    **ถ้าพบว่าตัวคุณเองเข้าได้กับข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นซึ่งทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมคุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

    การจำแนกระยะของมะเร็งเต้านม
    – มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก มะเร็งยังคงอยู่เฉพาะในเต้านม ต่อมนํ้าเหลืองที่รักแร้ยังไม่มีการลุกลามไปอย่างสำคัญ หมายถึง มักจะยังคลำก้อนผิดปกติที่เต้านมไม่ได้ และยังไม่มีการกระจายไปที่ใด
    – มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ระยะนี้โรคมักจะเป็นค่อนข้างมาก เช่นก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น มากกว่า 5 เซ็นติเมตรขึ้นไป หรือมีการลุกลามไปยังต่อมนํ้าเหลืองที่รักแร้ เช่น คลำ ได้ก้อนที่รักแร้ ยิ่งถ้าใหญ่หรือติดกับเนื้อเยื่อข้างใต้ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะห่างไกล
    – มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย คือ มีการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะห่างไกล เช่น ปอด ตับ กระดูก สมอง เป็นต้น

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  abraxasweb.com

Economy

  • “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ”
    “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ”

    “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ” รักษาการ รมว.คมนาคม

    นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำพิพากษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ ตามที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก

    โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่าหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) รักษาการก็ไม่ควรพูดคุยเรื่องนี้อีก และรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณา เพราะถ้าจะพูดอะไรคงพูดไปตั้งแต่ที่เข้า ครม.คราวก่อนแล้ว เพราะตนได้เสนอใน ครม.ว่าถ้าจะอนุมัติอะไรก็ทำให้เสร็จ

    แต่ไม่ให้มีการลงนาม รอให้ศาลตัดสินออกมาแล้วค่อยมาดูกันว่าจะทำอย่างไร แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีบอกว่าให้ถอยออกมาเลยก็จบ แปลว่าจะไม่นำกลับมาอีกในรัฐบาลนี้

    "อนุทิน" โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ "อธิรัฐ" รักษาการ รมว.คมนาคมด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า

    ต้องถามนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคมที่รักษาการ รมว.คมนาคม แต่ถึงอย่างไรก็ขอดูคำพิพากษาก่อน ยังไม่รู้ว่าจะออกมาแบบไหน เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีคมนาคม ซึ่งตอนนี้ รมช.คมนาคมรักษาการอยู่ ถ้า รมช.คมนาคมเสนอเข้ามา รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลก็ต้องนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม.

    ส่วน ครม.จะมีมติอย่างไรก็เป็นเรื่อง ครม. แต่กรณีนี้ต้องไปเช็กดูว่าก่อนหน้านี้ครั้งที่แล้วเหมือนจะพูดว่าเอาไว้รัฐบาลหน้าก็แล้วกัน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้นก็คงไม่มีการเสนอเข้าในช่วงรัฐบาลรักษาการ ซึ่งครั้งที่แล้วที่ทุกคนไม่ยื้อไว้ ก็เพราะว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นมา ซึ่ง ครม.ก็ต้องฟัง ถ้าอย่างนั้นก็เหมือนหลังพิงก็ให้ปลอดภัยไว้.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : abraxasweb.com